คำกล่าวรายงานในพิธีเปิดประชุมสัมมนา
การจัดลำดับความเสี่ยงจากสารเคมี (Risk Prioritization)
โดยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2545 เวลา 9.00 น
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียนท่านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ในนามของคณะผู้จัดการประชุมสัมมนา ขอขอบพระคุณท่านที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีการเปิดประชุมสัมมนา เรื่องการจัดลำดับความเสี่ยงจากสารเคมี (Risk Prioritization) ในวันนี้
การประเมินความเสี่ยงวัตถุอันตรายและสารเคมี เป็นงานซึ่งริเริ่มในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในรูปของ Risk Assessment Office โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการประเมินความเสี่ยง อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การแสดงให้เห็นความเป็นอันตราย (hazard identification) การตอบสนองต่อปริมาณการได้รับสัมผัส (dose-response relationship) การประเมินการได้รับสัมผัส (exposure assessment) และการอธิบายความเสี่ยง (risk characterization) ซึ่งสองขั้นตอนแรกนั้น เป็นการศึกษาข้อมูลที่มีการรายงานหรือตีพิมพ์แล้ว มีความเป็นสากล สำหรับสองขั้นตอนสุดท้ายนั้น ต้องอาศัยข้อมูลหรือการศึกษาภายในประเทศ ไม่สามารถนำข้อมูลจากต่างประเทศมาใช้ได้ทั้งหมดเหมือนสองขั้นตอนแรก
เนื่องจากการศึกษาเรื่องการประเมินความเสี่ยงเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในประเทศ และการจำกัดของทรัพยากร จึงมีความจำเป็นในการจัดลำดับความสำคัญของการศึกษาการประเมินความเสี่ยงวัตถุอันตรายและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น Risk Assessment Office จึงเป็นแกนกลางในการประสานงานนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงวัตถุอันตรายและสารเคมี โดยเน้นวัตถุอันตรายและสารเคมี 4 กลุ่มได้แก่ เครื่องสำอาง สมุนไพร สารเคมีที่พบในสิ่งแวดล้อม และสารเคมีที่พบในบ้านเรือน สำหรับการประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อาหารนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแกนกลางในการประสานงานกับนักวิจัยจากคณะเกษตร คณะสัตว์แพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักวิจัยจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการวิจัย และเน้นกลุ่มอาหารหลัก 4 กลุ่มคือ กลุ่มผักผลไม้และผลิตภัณฑ์ กลุ่มสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ กลุ่มปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ และกลุ่มธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืชและผลิตภัณฑ์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสภาพความเสี่ยง (risk profile) ในการบริโภคอาหารในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ด้วย ในการสัมมนาครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเนื้อหาโดยย่อของการสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วยการทบทวนความรู้เรื่องการประเมินความเสี่ยง ความรู้เกี่ยวกับด้านพิษวิทยาและระบาดวิทยา เป็นเวลา 2 วัน และระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละผลิตภัณฑ์และผู้ร่วมสัมมนา โดยการแบ่งกลุ่มตามผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงจากสารเคมีเป็นเวลา 1 วัน ในการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ทางผู้จัดคาดหวังว่า จะสามารถสื่อเรื่องการประเมินความเสี่ยงให้กับผู้เข้าร่วมประชุม และได้มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการจัดการความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในอนาคต
ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมอนามัย สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทย
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอเรียนเชิญท่านอธิบดีกล่าวเปิดการสัมมนา เพื่อเป็นเกียรติต่อผู้เข้าสัมมนาและคณะผู้จัดต่อไป
คำกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา
เรื่องการจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงจากสารเคมี (Risk Prioritization)
โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ในวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2545 เวลา 9.00 น
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียน ท่านผู้ทรงคุณวุฒิอมรา วงศ์พุทธพิทักษ์
ท่านผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมมีความยินดีและเป็นเยรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีการเปิดประชุมสัมมนา เรื่องการจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงจากสารเคมี (Risk Prioritization) ในวันนี้
กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้รับผิดชอบสุขอนามัยของประชาชนชาวไทย และพยายามให้มาตรฐานการเป็นอยู่ของชาวไทยดีขึ้นเทียบเท่าสากล การดำเนินงานวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อจัดตั้งมาตรฐานต่างๆ ทางสาธารณสุข ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ดีทางวิทยาศาสตร์ มีความถูกต้อง เปิดกว้าง และโปร่งใส โดยประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) และการสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) โดยแต่ละขั้นตอน ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง อยู่ในความรับผิดชอบของคณะหลายหน่วยงาน ซึ่งได้ให้ความร่วมมือในการเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้จัดทำข้อกำหนดของมาตรฐานโดยใช้หลักการวิเคราะห์ และหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความมั่นใจว่าข้อกำหนดต่างๆ เหล่านี้มีขึ้น เพื่อคุณภาพและความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภคอย่างแท้จริง และในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในด้านการค้า โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ และเป็นระบบที่โปร่งใส หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ตลอดกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยง
ในการปฏิบัติงาน ต้องแยกจากกันระหว่างการประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินความเสี่ยงมีความสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ และลดข้อขัดแย้งระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่าการประเมินความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ และเป็นสิ่งจำเป็นในทางปฏิบัติที่ผู้จัดการความเสี่ยง และผู้ประเมินความเสี่ยงต้องมีความสัมพันธ์กัน การป้องกันล่วงหน้า (Precaution) ไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ และไม่สามารถประเมินผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารมีทั้งทางเคมี ชีวภาพและกายภาพ .ซึ่งข้อมูลการใช้ การตกค้างหรือการปนเปื้อนของสาเหตุดังกล่าว มีผลงานเป็นจำนวนมากจากงานวิจัยของหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่ในการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านั้นยังไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ เพราะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง ส่วนใหญ่จะมีการสื่อสารความเสี่ยง แต่ยังไม่โปร่งใส โดยเฉพาะการสื่อสารกับผู้บริโภค สาเหตุเนื่องจากเกรงว่าผู้บริโภคจะตื่นตระหนกนั่นเอง
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลด้านอาหาร ซึ่งเป็นการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แก่
- การศึกษา total diet จากอาหารและน้ำ จำนวน 12 กลุ่มของประเภทอาหารเกือบทุกปี ตั้ง
- การศึกษา dietary intake ของสารหนูในน้ำดื่ม จำนวน 90 ครอบครัวในปี 2537 แล้วนำมา
แต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน โดยวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างและโลหะหนัก จากค่า total diet ที่ได้นำมาคำนวณหาค่า ADI ซึ่งค่านี้สามารถนำกลับไปประเมินความเสี่ยงในการบริโภคอาหาร เนื่องจากสารพิษตกค้างและโลหะหนักได้
หาค่า ADI ซึ่งสามารถนำกลับไปประเมินค่าความเสี่ยงของสารหนูในน้ำดื่มที่มีต่อผู้บริโภค
ถึงแม้ว่าข้อมูลทั้งสองเรื่องนี้ จะมีการศึกษาได้สมบูรณ์และครอบคลุมการบริโภค
อาหารและน้ำของผู้บริโภค แต่การประเมินความเสี่ยงก็ยังไม่สมบูรณ์ตามหลักการของการวิเคราะห์ความเสี่ยง
ประเทศไทยในขณะนี้ใช้มาตรฐานของ CODEX ในการจัดตั้งมาตรฐานอาหารใน
ประเทศไทย ซึ่งในบางสถานภาพอาจจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันหรือให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนได้ ในอดีตได้ใช้ Precautionary principle ในการจัดการกับอาหารหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจไม่ปลอดภัย เช่นกรณี Dioxin ในผลิตภัณฑ์นม ในอนาคตประเทศไทยจะต้องมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงที่โปร่งใส และมีมาตรฐานตามหลักสากลในการปกป้องสุขภาพคนไทย
สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย การจัดการความเสี่ยงในรูปกฎหมาย
ดำเนินการโดยหลายหน่วยงาน และมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการในฐานะผู้จัดการความเสี่ยง โดยไม่ได้ใช้ข้อมูลประเมินความเสี่ยงจากองค์กรหรือนักวิจัยอิสระ ซึ่งอาจทำให้มี conflict of interest ได้ นอกจากนั้น กระบวนการประเมินความเสี่ยงทางชีวภาพและทางกายภาพ ยังไม่มีกระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบในประเทศไทย
งานการวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นสหสาขา ต้องมีผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ผม
ต้องขอขอบคุณวิทยากรจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่น ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร ผู้อำนวยการกองควบคุมเครื่องสำอาง ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุมีพิษ และดร. ชนินทร์ เจริญพงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดร. สุเทพ เรืองวิเศษ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ. สนธยา พรึงลำภู ที่ปรึกษากรมการแพทย์ คุณสุขุม วงษ์เอก กองวัตถุมีพิษทางการเกษตร ดร. วันทนีย์ กัลล์ประวิทย์ กรมปศุสัตว์ และดร. พูนทรัพย์ วิรุฬกุล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร. สุดสาย ตรีวานิช คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิอมรา วงศ์พุทธพิทักษ์ ซึ่งสละเวลาให้กับการฝึกอบรมและสัมมนาครั้งนี้ และขอขอบคุณสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณส่วนหนึ่ง รวมทั้งขอบคุณคณะทำงานและผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านที่เล็งเห็นประโยชน์และมาประชุมสัมมนาร่วมกันในครั้งนี้ จึงขอให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
ขณะนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคล ผมขอเปิดการประชุมสัมมนา ณ บัดนี้
0 comments:
Post a Comment