Thursday, July 19, 2012

เทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับพิธีกร


ใน การทำหน้าที่พิธีกรย่อครั้งที่ผู้เขียนต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และต้องแก้ไขเหตุการณ์เหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องทำหน้าที่พิธีกร จึงรวบรวมเทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นแนวทางสำหรับทุกท่าน ดังนี้

เมื่อถึงเวลาแล้วประธานหรือผู้พูดยังมาไม่ถึง
หน้าที่ ของพิธีกรจะต้องไม่ให้เกิดความเงียบบนเวที ถ้าเลยเวลาไม่ไม่นากนัก พิธีกรก็อาจจะพูดชี้แจงรายละเอียดต่างๆรวมทั้งอาจจะมีเรื่องราวสนุกสนานมา เล่าถ่วงเวลาไว้ก่อน(พิธีกรจึงต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขัน) แต่ถ้านานเสียจนผู้ฟังเริ่มกระสับกระส่าย อาจจะจัดกิจกรรมให้ผู้ฟังได้เคลื่อนไหวบ้าง เช่น การปรบมือ การร้องเพลง ขณะเดียวกันต้องรีบให้ฝ่ายจัดงานเร่งแก้สถานการณ์ทันที

เมื่อเครื่องเสียงไม่เป็นใจ
เป็น เรื่องแปลกแต่จริงเครื่องเสียงโดยเฉพาะไมค์โครโฟน เวลาทดสอบก็ดูจะให้ความร่วมมือดี แต่พอถึงเวลาเอาจริงก็มักจะมีเสียงหอน...พูดแล้วเสียงขาดหาย...พูดแล้วไม่มี เสียงออกพิธีกรต้องยิ้มเข้าไว้และเมื่อทุกอย่างปกติก็อาจจะใช้ละลาการพูด ช่วยคลี่คลายบรรยากาศ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปทำหน้าผู้เขียนไปทำหน้าที่พิธีกรในการอบรมสัมมนา ซึ่งมีวิทยากรพิเศษมาให้การบรรยาย พอถึงเวลาปรากฏว่าไมค์โครโฟนใช้ไม่ได้ เป็นอยู่พักใหญ่กว่าจะแก้ไขได้เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ผู้เขียนเลยพูดนำร่องก่อนเชิญวิทยากรขึ้นพูดว่า “แหม วันนี้พวกเรารอคอยมานานกว่าจะได้คิวจากท่านวิทยากรเพราะเรื่องราวที่ท่านจะ พูดคุยกับพวกเราเป็นเรื่องที่ Hot ที่สุด ไม่นึกเลยว่าไมค์โครโฟนจะตกใจเพราะความ Hot จนสายไหม้่ก่อนที่ท่านวิทยากรจะได้พูดเสียอีก (ฮา...) ขณะนี้ไมค์โครโฟนก็ปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ขอเรียนเชิญท่านวิทยากรในลำดับนี้ลยค่ะ
เมื่อพิธีกรอ่านข้อความผิด
“สี่ เท้ารู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เป็นความจริงเสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะเชี่ยวชาญเพียงใดโอกาสพลาดย่อมมี และเมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะทำอย่างไร สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือท่านต้องตั้งสติให้ดี หากอ่านผิดก็ให้เอ่ยคำว่า “ขออภัยค่ะ” ไม่ใช่ “อุ๊ย ขอโทษ” หรือบางกรณีอาจต้องใช้ไหวพริบ เช่น มีอยู่คราวหนึ่งผู้เขียนเป็นพิธีกรโดยในงานมี คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี มาร่วมงานด้วย ผู้เขียนตั้งใจจะเอ่ยชื่อท่าน แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบกลับพูดว่า “...นอกจากนี้ก็มีคุณวิสิทธิ์ ชวลิตนิิติธรรม (เิิอ่ยชื่อคุณพ่อของท่านแทน)...” พอพูดออกไปแล้วจึงนึกได้ว่าพลาดไปแล้ว ก็เลยรีบแก้ไขทันทีว่า ” ...นายกสมาคมสว่างบริบูรณ์ฯซึ่งกำลังเดินทาง แต่ขณะนีุ้คุณชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในฐานะคนของประชาชนเดินทางมาถึงก่อน”

เมื่อผู้ฟังออกอาการ...ไม่ฟัง...เบื่อ...หลับ
ใน งานบางงานผู้ฟังหรือผู้ชมก็ช่างไม่ให้ความร่วมมือเสียเลย ผู้เขียนจะใช้วิธีดึงความสนใจด้วยการ ร้องเพลง เล่าเรื่องขบขัน แต่ไม่ใช่เรื่อตลกมาก ท่านต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องขบขันกับเรื่องตลก หรือบางทีอาจจะร้องลำตัด ร้องลิเกสอดแทรกขึ้นมา หรืออาจจะให้ผู้ฟังลุกขึ้นขยับแข้งขาด้วยการออกำลังกายดูบ้างก็ช่วยได้มาก

เมื่อต้องเป็นพิธีกรจำเป็น
อัน ที่จริงเราก็คุ้นเคยกับการเป็นพิธีกรกันอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนเคยเจอสถานการณ์ ต้องเป็น “พิธีกรจำเป็น” คือในงานบางงานเราไปในฐานะผู้ร่วมงานแต่พอถึงเวลาเจ้าภาพจะเข้ามาบอกว่า “ช่วยหน่อยนะ ช่วยเป็นพิธีกรให้พี่หน่อย” ถ้าถามความรู้สึกจริงๆ ผู้เขียนก็สุดจะเซ็งกับเหตุการณ์แบบนี้ แต่วิธีแก้ไขก็ต้องยิ้มเข้าไว้ การปฏิเสธคงเป็นไปได้ยาก แล้วรีบสอดส่ายสายตาหาบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการพูดให้พูดแทน โดยอาจจะแนะนำเจ้าของงานว่า “วันนี้ตั้งใจมาแสดงความยินดีกับพี่แล้วก็จะรีบกลับ เพราะติดงาน(แล้วแต่จะอ้างให้ดูสมเหตุสมผล) จะอยู่พูดให้ได้ไม่ตลอดพี่ลองไปเชิญคุณ... ช่วยพูดดีไหมคะ นั่นไงคะนั่งอยู่ตรงนั้น” แล้วก็ทำท่าทางของท่านให้เร่งรีบเพื่อขอตัวกลับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ต้องทำใจ.....ช่วยกันหน่อยก็แล้วกัน คิดเสียว่า หากเขาไม่ไว้ใจเราเขาก็คงไม่ให้เราเป็นพิธีกร เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน... แต่็ก็หวังว่าอย่าได้เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยนักเลย

ทั้ง หมดที่เล่าสู่กันฟังนี้ เป็นเพียงปัญหาเฉพาะหน้าที่พิธีกรทุกคนมักจะต้องมีโอกาสพบบ่อยที่สุด ความจริงยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมาย แต่จะไม่ขอนำมากล่าวไว้ ก็เลยตัดสินใจเลือกเฉพาะปัญหาที่ทุกท่านจะมีโอกาส พบมากที่สุดมาฝากไว้

0 comments:

Post a Comment

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by I Love Fat