Thursday, July 19, 2012

ความรู้พื้นฐานที่พิธีกรควรรู้


ใน สมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำเรียกขานผู้ทำหน้าที่พูดหรือดำเนินรายการสำหรับ กิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรจัดขึ้นว่า “โฆษก” เช่น โฆษกงานวัด โฆษกงานแต่งงานโฆษกสถานีวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ เหล่านี้ เป็นต้น
ต่อมาโฆษก สถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์จะมีคำเรียกว่า “ผู้ประกาศ” แทนโดยสรุปก็คือเราจะได้ยินอยู่ 2 คำนี้ คือ “โฆษก” และ “ผู้ประกาศ” ในระยะหลังๆ จึงปรากฏมีผู้ใช้คำว่า “พิธีกร” เพิ่มมาอีก 1 คำ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เรามาศึกษาดูความหมายของคำทั้ง 3 คำนี้กันสักหน่อย
โฆษก
“โฆษก” เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันกฤตว่า “โฆษก” ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Announcer” หรือ “Spokeman” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่าผู้ประกาศ,ผู้โฆษณา เช่น โฆษณาสถานีวิทยุ : ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง จะเห็นว่า แต่เดิมในบ้านเมืองเรา จะใช้คำว่า “โฆษก” กันเป็นอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่สนามมวย ผู้ประกาศ หรือผู้โฆษณาในทุกงานและทุกอาชีพ เช่น ตามสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก็จะเรียกว่า โฆษกวิทยุ โฆษกโทรทัศน์ ผู้ประกาศในการแข่งขันชกมวย ก็เรียกว่า โฆษกสนามมวย ผู้ประกาศตามงานวัดก็เรียกว่า โฆษกงานวัน ผู้ประกาศในงานแต่งงาน ก็เรียกว่า โฆษกงานแต่งงาน สรุปว่าเมื่อต้องประกาศ หรือบรรยายในงานใดๆ ก็จะเรียกว่า โฆษกตามลักษณะของงานนั้น
ผู้ ทำหน้าที่โฆษกบางครั้งก็จะปรากฏตัวให้ผู้มาร่วมงานเห็น บางครั้งก็จะส่งแต่เสียงออกมาอย่างเดียว โฆษกจะพูดไปได้เรื่อยๆ เท่าที่มีเวลา และอาจจะแทรกความคิดเห็นของตนเพิ่มเติมในการพูดได้ การพูดของโฆษกค่อนข้างอิสระ ยกเว้น โฆษกรัฐบาล หรือโฆษกพรรคการเมือง หรือโฆษกตามตำแหน่งที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้น การพูดจะค่อนข้างเป็นทางการ และต้องปรากฏตัวให้ผู้ฟังเห็นในขณะพูด
ผู้ประกาศ ใน ส่วนของความหมายโดยตรงไม่มีระบุในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 แต่ระบุว่าโฆษก หมายถึงผู้ประกาศ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นำคำว่า “ผู้ประกาศ” มาใช้แทนโฆษก แต่มักจะใช้เรียกโฆษกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์มากกว่า เช่น ผู้ประกาศข่าววิทยุ ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ต่อมามักจะเรียกว่า “ผู้อ่านข่าว” ตามลักษณะงานที่ทำ

ตามความคิดเห็นของผู้เขียนแล้ว ผู้ประกาศ และโฆษกมีความหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะงานที่ทำ นั่นคือ ผู้ประกาศจะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเหตุการณ์ที่กำหนดจัดเรียงข้อความตามลำดับ มาแล้วเพื่อสื่อให้ผู้ฟังชมทราบ แต่จะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ เช่น การประกาศรายงานสภาพอากาศ การประกาศรายงานสภาพการจราจร การประกาศข่าวของทางราชการ เป็นต้น ผู้ประกาศจะแสดงตัวให้ผู้ฟังผู้ชมเห็นตัวหรือไม่ก็แล้วแต่สถานการณ์หรือ ลักษณะงาน
พิธีกรพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า ผู้ดำเนินการในพิธี, ผู้ดำเนินรายการ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Master of Ceremonies” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “MC”

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า พิธีกรจะต้องทำหน้าที่ดำเนินการตั้งแต่เริ่มงานจนจบงาน ต้องมีความสามารถในการจัดลำดับขั้นตอนของงานได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับ บรรยากาศ ลักษณะงานของพิธีกรจึงมีทั้งลักษณะที่เป็นทางการ เช่น พิธีกรในงานพระราชทานเพลิงศพ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในรายการโทรทัศน์ หรือลักษณะที่ไม่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ เช่น พิธีกรดำเนินรายการเกมโชว์ต่างๆ พิธีกรในการประกวดนางงาม พิธีกรในงานแต่งงาน เป็นต้น โดยปกติพิธีกรจะต้องพูดโดยให้ผู้ฟังดูเห็นตัวด้วย
ตาม ความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า โฆษก ผู้ประกาศ และพิธีกร มีความหมายที่คล้ายคลึงกันต่างกันก็ตรงลักษณะงานที่ทำ แต่หากพิจารณาความหมายของพิธีกร แล้วดูจะกินความครอบคลุมคำว่า โฆษก และผู้ประกาศไปด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า โฆษก และผู้ประกาศ เป็นงานส่วนหนึ่งพิธีกรนั่นเอง

ดังนั้น ผู้เขียนจึงระบุในหนังสือนี้ว่า กลยุทธ์การเป็นพิธีกร ซึ่งหมายรวมการทำหน้าที่ของพิธีกรในฐานะโฆษก และผู้ประกาศด้วย

0 comments:

Post a Comment

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by I Love Fat